Nantawit & Chainat

Just another WordPress.com site

วิธีการแยกขยะ

วิธีการแยกขยะ

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนว่าขยะหลังจากนำมารีไซเคิลได้  จะสามารถนำไปทำเป็นอะไรได้บ้าง

1. ขยะประเภท กระป๋องอลูมิเนียม และกระป๋องเหล็ก

    สามารถนำไปรีไซเคิลและผลิตเป็นกระป๋องอลูมิเนียม กระป๋องเหล็ก ชิ้นส่วนจักรยานยนต์ และอุปกรณ์ก่อสร้าง  ตู้เย็น เครื่องซักผ้าเป็นต้น

2. ขยะประเภทกระดาษหนังสือพิมพ์ นิตยสาร กล่องกระดาษ  กล่องนม

    สามารถนำไปทำเป็นกล่องกระดาษที่มีความแข็งแรง กระดาษทิชชู เป็นตัน

3. เสื้อผ้า

    เป็นเสื้อผ้ามือสอง

3. ขวดแก้วใส หรือสีชา

    นำไปผลิตขวดใหม่ได้

4. ขวดแก้วสีอื่นๆ

    นำไปผลิตเป็นพื้นกระเบื้อง

5. ขวดน้ำพลาสติก

    นำไปผลิตเป็นผ้าพลาสติกได้

6. พลาสติกต่างๆ

    นำไปผลิตพลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง หรือไม่ก็ผลิตเป็นปากกา

7. พลาสติกที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์

     นำไปผลิตพลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง หรือไม่ก็ผลิตเป็นปากกา

สิ่งที่ควรระวังเกี่ยวกับการทิ้งขยะ

การแยกขยะเป็นสิ่งที่ควรให้การสนับสนุนแต่ต้องทำความเข้าใจระหว่างผู้ทิ้งขยะกับผู้เก็บขยะด้วย

1. การเก็บขยะที่รีไซเคิลได้นั้นจะเก็บเฉพาะขยะที่สะอาด  ส่วนขยะที่สกปรกไม่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ขยะสด ขยะที่สามารถเผาได้ ขยะที่ไม่สามารถเผาได้ควรจะแยกสีถุงบรรจุขยะให้ชัดเจน

2. ขยะที่รีไซเคิลได้นั้นจะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นำกลับมาใช้ใหม่ ดังนั้นไม่ควรทิ้งขยะที่จะนำมารีไซเคิลได้ปะปนกัน แยกถุงทิ้งและแสดงหน้าถุงบรรจุให้ชัดเจนว่าเป็นขยะแบบไหน

3. ควรจะแยกวันเก็บขยะให้ชัดเจนว่าวันไหนจะเก็บขยะประเภทใด

วิธีการแยกขยะ

1. กระป๋อง

    กระป๋องควรจะแยกประเภทว่าเป็นอลูมิเนียมหรือว่าเหล็กและควรล้างทำความสะอาดภายในให้เรียบร้อยก่อน

2. กระดาษ

    กระดาษจะแยกเป็น 4 ประเภทหลักๆคือ

2.1 กระดาษหนังสือพิมพ์และใบปลิว

2.2 นิตยสาร

2.3 กล่องกระดาษ  ควรแยกเอาส่วนที่เป็นโลหะออกให้หมด เช่น แม๊กเย็บกล่อง

2.4 กล่องนม  ควรคลี่ออกและล้างให้สะอาดก่อนทิ้ง

3. เสื้อผ้า

    เสื้อผ้าที่จะนำไปรีไซเคิล ควรเป็นเสื้อผ้าที่ไม่สกปรก แค่มีรอยขาดนิดหน่อยหรือเป็นรู กระดุมหลุดเป็นตัน

                         

4. ขวด

    ขวดควรแยกเป็นขวดใส ขวดสีชา และขวดสีอื่นๆ และควรล้างทำความสะอาดก่อนนำมาส่ง

ควรแยกฝาที่เป็นโลหะทิ้งไปกับขยะที่ไม่สามารถเผาได้ ฝาพลาสติกทิ้งไปกับขวดพลาสติก ส่วนขวดที่แตกแล้วทิ้งไปกับขยะที่ไม่สามารถเผาได้

5. พลาสติกต่างๆ

    ขวดพลาสติกควรจะล้างทำความสะอาดก่อนทิ้ง

    พลาสติกบรรจุภัณฑ์ เฉพาะสีขาวควรล้างทำความสะอาดก่อนทิ้ง

    ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ควรล้างทำความสะอาดก่อนทิ้ง

ขยะอื่นๆ ที่ต้องผ่านกระบวนการก่อนนำกลับมาใช้ และที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้

1. ขยะที่สามารถเผาได้

    เป็นประเภทขยะสด ขยะที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น ของเล่น ตุ๊กตา หนังสัตว์ ผ้า แต่ควรแยกส่วนที่เป็นโลหะออกเสียก่อน

ขยะสด ควรรีดน้ำออกให้เหลือน้อยที่สุดและพันด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์

ไม่ควรใส่ถุงพลาสติกแล้วนำมาทิ้ง

ผ้าอ้อมที่ใช้แล้วควรห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อนนำมาทิ้ง

2. ขยะที่ไม่สามารถเผาได้

    แก้ว โลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เตารีด หม้อตัมน้ำ ทิ่ปิ้งขนมปัง ที่เป่าผม  โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า วิทยุ เป็นตัน

ข้อควรระวัง   แก้ว มีด ของมีคมควรห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อนทิ้ง  กระป๋องสเปรย์ควรเจาะรู 2 รูก่อนนำมาทิ้ง

         

3. ขยะที่มีขนาดใหญ่

    เฟอร์นิเจอร์  เครื่องเสียง จักรยานยนต์เป็นตัน

4. ขยะเป็นพิษ

    ถ่านไฟฉาย หลอดไฟฟ้า ควรใส่ถุงพลาสติกก่อนนำมาทิ้ง ถ้าหลอดแตกให้ทิ้งเป็นขยะเผาไม่ได้

   

ผลกระทบต่อสุขภาพอันเกิดจากขยะพิษประเภทต่าง ๆ 

ประเภทของสาร ผลิตภัณฑ์ที่พบ ผลต่อสุขภาพ

1. สารปรอท

หลอดฟลูออเรสเซนต์ ปวดศรีษะ ง่วงนอน อ่อนเพลีย

หลอดนีออน ซึมเซา อารมณ์แปรปรวน จิตใจไม่สงบ

กระจกส่องหน้า ประสาทหลอน สมองสับสน สมองอักเสบ

2. สารตะกั่ว

แบตเตอรี่รถยนต์ ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ซีดลง ปวดหลัง

ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ มีอาการทางสมอง

ตะกอนสี หมึกพิมพ์ ฯลฯ ทำให้ความจำเสื่อม ชักกระตุกและหมดสติลง

3. สารแมงกานีส

ถ่านไฟฉาย ตะกอนสี ปวดศรีษะ ง่วงนอน จิตใจไม่สงบ

เครื่องเคลือบดินเผา ประสาทหลอน เกิดตะคริวที่แขน ชา สมองสับสน สมองอักเสบ

4. สารแคดเมียม

ถ่านนาฬิกาควอตซ์ ทำให้เกิดโรคอิไต-อิไต อาการปวดในกระดูก

5. สารฟอสฟอรัส

ยาเบื่อหนู ตะกอนสี ฯลฯ เหงือกบวม เยื้อบุปากอักเสบ

6. สารเคมี

สเปรย์ ยาย้อมผม ยาทาเล็บ เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง

ประเภทอื่น ๆ ยาล้างเล็บ ยาฆ่าแมลง และเยื่อบุทางเดินหายใจ ปวดศรีษะ

ยารักษาโรค ยากำจัดวัชพืช หายใจขัด เป็นลม ฯลฯ

ใส่ความเห็น »

การจัดการของเสียอันตรายในประเทศไทย

การจัดการของเสียอันตรายในประเทศไทย
การจัดการของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไป มีทั้งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม และการนิคมอุตสาหกรรม ดังนั้นทั้ง 2 หน่วยงานจึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการจัดการของเสียเหล่านี้อย่างเหมาะสม ดังนี้

กรมโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานซึ่งสังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีจำนวนมากถึง 103,751 โรงงาน ในปี พ.ศ. 2538 ตั้งกระจายอยู่ทั่วไป มิได้ตั้งอยู่รวมกันเช่นเดียวกับโรงงงานในนิคมอุตสาหกรรม โรงงานเหล่านี้มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ โรงงานขนาดใหญ่มักจะมีระบบบำบัดของเสียที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่สำหรับโรงงานขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนมาก มักแอบปล่อยทิ้งของเสียโดยมิได้ผ่านการบำบัดใดๆ ซึ่งเมื่อมองโดยภาพรวมแล้วของเสียที่ถูกแอบบปล่อยทิ้งนี้มีปริมาณสูงมาก กรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงเห็นความจำเป็นที่จะก่อตั้งศูนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม เพื่อรับการบำบัดของเสียจากอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมีเงินทุนและบุคลากรไม่เพียงพอที่จะจัดการ ให้มีระบบบำบัดของเสียของโรงงานเองได้ นอกจากนั้น ศูนย์นี้ยังทำการบำบัดของเสียอันรายจากอุตสาหกรรมทุกขนาดด้วย กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีแผนงานจัดสร้างศูนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม ในพื้นที่ที่มีการก่อกำเนิดของเสียที่มีอันตรายร้ายแรงในระดับต้นๆ ก่อน เช่น ของเสียที่มีสารโลหะหนัก บริเวณที่มีความจำเป็นต้องจัดสร้างศูนย์บริการกำจัดกาก ได้แก่ แขวงแสมดำ อ. บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร จ.ราชบุรี จ.ชลบุรี จ.สระบุรี จ.ระยอง

ปัจจุบัน ศูนย์บริการกำจัดกากที่เปิดดำเนินการแล้วมี 2 แห่ง คือ (1) ศูนย์บริการกำจัดกากแขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน พื้นที่ฝังกลบ จ.ราชบุรี และศูนย์บริการกำจัดกาก นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ปัจจุบัน บริษัทผู้รับสัมปทานในการดำเนินการศูนย์ก่อสร้างทั้ง 2 แห่ง คือ บริษัท บริหารและพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (General Environmental Conversation Co., Ltd.,) หรือเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม GENCO ซึ่งมีการก่อตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2537 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมถือหุ้นในบริษัทนี้ร้อยละ 25 รายละเอียดของศูนย์แต่ละแห่ง มีดังนี้

1. ศูนย์บริการกำจัดกาก แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์แห่งแรก โดยเริ่มจากการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ลงทุนจัดสร้างศูนย์บำบัดนี้ขึ้น และสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2531 ต่อจากนั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการให้มีการเช่าดำเนินการโดยบริษัทเอกชน โดยบริษัท GENCO เข้ามาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบัน ศูนย์นี้สามารถรองรับของเสียประเภท กรด ด่าง และโลหะหนัก มีความสามารถในการรับน้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อม 800 ลบ.ม./วัน น้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะ 200 ลบ.ม./วัน และกากตะกอนและของแข็งที่ปนเปื้อนด้วยโลหะหนัก 100 ตัน/วัน กากตะกอน จากระบบบำบัดน้ำเสียภายในศูนย์รวมทั้งกากตะกอนและของแข็งที่รับจากภายนอก จะถูกทำให้คงตัวแล้วจะถูกส่งไปทำการฝังกลบ (secure landfill) ยังศูนย์ราชบุรี ในปี พ.ศ. 2537 มีผู้ใช้บริการศูนย์แสมดำจำนวนทั้งสิ้น 549 ราย โดยมีปริมาณของเสียที่จะถูกส่งเข้าระบบดังนี้ น้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะ 7,700 ลบ.ม./เดือน น้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อม 4,800 ลบ.ม./เดือน และกากตะกอนของแข็งและอันตรายอื่นๆ 1,540 ตัน/เดือน จากตัวเลขเหล่านี้จะเห็นได้ว่า ของเสียอันตรายที่ได้รับการบำบัดอย่างถูกต้องยังมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับปริมาณที่เกิดขึ้นทั้งหมด

2. ศูนย์บริการกำจัดกาก นิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด จ. ระยอง ให้บริการการเก็บรวบรวม การขนส่ง การบำบัดและกำจัด รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำด้านการจัดการกับวัสดุเหลือใช้หรือของเสียทุกประเภท ศูนย์บริการที่สร้างขึ้นน ี้มีศักภาพในการจัดการกากของเสียได้ 500-1,000 ตันต่อวัน ตัวอย่างของอุตสาหกรรมที่ส่งของเสียมาบำบัดในศูนย์นี้ ได้แก่ ของเสียจากอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ อุตสาหกรมน้ำมันและปริโตรเคมี ตัวอย่างชนิดของเสีย ได้แก่ กระดาษห่อวัตถุดิบที่ใช้ทำยา ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ แผ่นวงจรอิเลคโทรนิกส์ กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานชุบโลหะตะกอนจากโรงงานทำสี

การให้บริการของทั้ง 2 ศูนย์นี้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ (ก) การขนส่งกากของเสีย (ข) การศึกษาวิเคราะห์ของเสียก่อนการบำบัด (ค) การบำบัดน้ำเสีย (ง)การปรับเสถียรกากของเสีย (จ) การฝังกลบอย่างปลอดภัย และ (ฉ) การผสมกากเป็นเชื้อเพลิง โดยมีรายละเอียดขั้นตอน ดังนี้

(ก) การขนส่งกากของเสีย

ในการขนส่งกากของเสีย GENCO ได้จัดการขนส่งด้วยวิธีต่างๆ ตามลักษณะของของเสีย รถทุกคันต้องมีอุปกรณ์กู้ภัยในกรณีเหตุฉุกเฉิน เช่น อุปกรณ์ดับเพลิง เครื่องดูดสารเคมี เครื่องสูบน้ำ หมวก ชุดนิรภัย อุปกรณ์สื่อสาร วิธีการขนส่งของเสียมีดังนี้
– ของแข็ง เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉาย จะเก็บขนโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ที่ปิดมิดชิด ทาง GENCO ได้นำตู้คอนเทนเนอร์เปล่ามาตั้งไว้ให้ที่โรงงาน    เมื่อใส่ของเสียเต็มแล้ว ก็จะมายกตู้ใส่รถพ่วงไปบำบัดที่ศูนย์
– ของเหลวปริมาณน้อย เช่น ตัวทำละลายอินทรีย์ ตะกอนสี จะบรรจุไว้ในถังพลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิดและเข็มขัดรัดฝา ในการขนส่งจะวางถังเหล่านี้ในตู้ปิดทึบ    เพื่อป้องกันการรั่วใหลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
–  ของเหลวปริมาณมาก เช่นน้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อม น้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะ จะใช้รถบรรทุกที่มีลักษณะคล้ายรถน้ำมัน

(ข) การศึกษาวิเคราะห์ของเสียก่อนการบำบัด

ก่อนที่โรงงานใดจะทำสัญญาว่าจ้าง GENCO ทำการบำบัดของเสียนั้น โรงงานจะต้องจัดส่งตัวอย่างของเสียมาให้ GENCO เพื่อตรวจสอบสมบัติต่างๆ ของของเสีย สารปนเปื้อนในของเสีย และการศึกษาความเป็นไปได้ในการบำบัดน้ำเสียด้วย ดังนั้น เมื่อถึงขั้นตอนที่โรงงานส่งของเสียมาบำบัดจริง GENCO จะต้องทำการตรวจสอบปริมาณและสมบัติของเสียว่า เป็นประเภทเดียวกับที่ตกลงกันไว้หรือไม่ วิธีใดเป็นวิธีการบำบัดที่เหมาะสม และจะต้องใช้สารเคมีในการบำบัดเท่าใด

(ค) การบำบัดน้ำเสีย

ปัจจุบันระบบบำบัดน้ำเสีย มีเฉพาะที่ศูนย์แสมดำเท่านั้น น้ำเสียที่รับบำบัด ได้แก่ น้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อมและโรงงานชุบโลหะ รายละเอียดกระบวนการบำบัดน้ำเสียมี ดังนี้
– บ่อสูบน้ำเสีย
– ถังวัดอัตราการป้อนน้ำเสียด้วย weir สามารถปรับให้น้ำเสียไหลผ่านตามที่ต้องการ น้ำส่วนเกินจะไหลผ่านท่อน้ำล้นกลับเข้าสู่บ่อสูบ
– ถังกวนเร็ว (rapid mixing tank) ทำการกวนเร็ว เพื่อผสมสารเคมช่วยในการตกตะกอนอนุภาคต่างๆ       ในขั้นตอนนี้เป็นการช่วยทำลายเสถียรภาพของอนุภาค   แขวนลอย
– ถังกวนช้า (flocculation tank) เป็นการกวนช้า เพื่อช่วยให้ตะกอนรวมตัวกันเป็นตะกอนขนาดใหญ่
– ถังตกตะกอน (sedimentation tank หรือ clarifier) เป็นถังที่ปล่อยให้น้ำนิ่ง เพื่อให้ตะกอนแยกจากน้ำ
– บ่อผึ่ง (stabilization pond) น้ำใสจากถังตกตะกอนจะปล่อยลงสู่บ่อผึ่งจำนวน 3 บ่อ ซึ่งต่อกันแบบอนุกรม เพื่อลดปริมาณ BOD และมลสารอื่นๆ ในน้ำ
– ถังทำตะกอนข้น (sludge thickener) เป็นตะกอนจากก้นถังตกตะกอน จะทำให้น้ำข้นขึ้น
– ลานตากตะกอน (sludge drying bed) ตะกอนที่ผ่านการทำให้ข้นแล้วจะนำมาตากไว้ที่ลานตากตะกอน เพื่อให้ได้ตะกอนที่แห้งมาก สะดวกต่อการนำมาฝังกลบที่ศูนย์ จ. ราชบุรี ต่อไป

(ง) การปรับเสถียรกากของเสีย (stabilization and solidification)

กากของเสียต่างชนิดกันจะมีวิธีการที่เหมาะสมในการปรับเสถียรต่างกัน ดังนั้น ก่อนการปรับเสถียรของเสียชนิดใดๆ ต้องมีการทำการทดลองเบื้องต้นในห้องทดลองก่อนเสมอ ตัวอย่างการปรับเสถียร ได้แก่ กากตะกอนปรอท นำมาปรับเสถียรด้วยโซเดียมซัลไฟด์แล้วผสมเข้ากับปูนซีเมนต์ ทำให้กลายเป็นของแข็ง สารเหล่านี้จะถูกนำมารวมกันผสมให้เข้ากันโดยการใช้เครื่องโม่ผสม

(จ) การฝังกลบอย่างปลอดภัย (secure landfill)

กากของเสียที่ผ่านการบำบัดที่เหมาะสมแล้วจะนำไปฝังกลบอย่างปลอดภัย ลักษณะของหลุมฝังกลบดังที่กล่าวมาแล้วกากจากศูนย์แสมดำถูกส่งไปฝังกลบที่ จ.ราชบุรี ส่วนศูนย์มาบตาพุดมีพื้นที่ฝังกลบในบริเวณนั้นอยู่แล้ว

(ฉ) การผสมกากเป็นเชื้อเพลิง

เป็นการนำของเสียที่เป็นสารอินทรีย์มาผสมเป็นเชื้อเพลิง เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ สารอินทรีย์ที่นำมากำจัดโดยวิธีนี้จะต้องไม่เป็นสารที่มีปฏิกิริยารุนแรง สารที่ระเบิดได้ สารกัมมันตภาพรังสี

นิคมอุตสาหกรรม

นอกจากในส่วนของกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลนิคมอุตสาหกรรมต่างจำนวน 23 นิคม ซึ่งมีโรงงานในสังกัดทั้งสิ้นประมาณ 2,200 โรงงาน โรงงานเหล่านี้ก่อให้เกิดของเสียในรูปต่างๆ การนิคมอุตสาหกรรมจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการในการควบคุมและจัดการของเสียเหล่านี้ เมื่อนิคมอุตสาหกรรม เริ่มเปิดดำเนินการ คือ เมื่อมีโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาเปิดดำเนินการในขั้นต้น การยื่นขอใบอนุญาติจัดตั้งโรงงานจะต้องระบุถึงกระบวนการผลิต วัตถุอันตรายที่ใช้ และประมาณการกากอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งมาตรการควบคุม จัดการ และรายงานผลการดำเนินงาน กนอ.จึงจะออกใบอนุญาติให้จัดตั้งโรงงานได้ เมื่อจัดตั้งแล้วทางโรงงานจะต้องจัดทำบัญชีรายงานประเภท และปริมาณกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น และส่วนที่จัดเก็บไว้ในโรงงานต่อกนอ.เป็นประจำทุกเดือน นอกจากนั้นปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา กนอ.มีโครงการรณรงค์แยกขยะในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการทำการแยกขยะตามชนิดของขยะ เพื่อสะดวกต่อการจัดเก็บและทำลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้องกันมิให้มีการทิ้งขยะอันตรายปะปนกับขยะทั่วไป กนอ.ได้กำหนดความหมายของ “ขยะทั่วไป” และ “ขยะอันตราย” ไว้อย่างชัดเจน และกำหนดให้มีการจัดการขยะทั้ง 2 ประเภท ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน สำหรับขยะทั่วไปที่เกิดขึ้นในโครงการทั้งหมด ให้มีรถเก็บขนแล้วนำมากำจัดโดยวิธีการเผาในเตาเผาขยะมูลฝอย หรือวิธีการฝังกลบ (sanitary landfill) สำหรับขี้เถ้าจากเตาเผาขยะต้องนำมาฝังกลบในบ่อฝังกลบขี้เถ้าที่สามารถเก็บขี้เถ้าได้ไม้ต่ำกว่า 10 ปี สำหรับของเสียอันตราย นิคมอุตสาหกรรมจัดสร้างโรงพักกากชั่วคราว เพื่อพักรอการส่งไปกำจัดที่ศูนย์บริการกำจัดกากโรงงานอุสาหกรรมต่อไป โดย กนอ. มีข้อกำหนดว่า โรงพักกากชั่วคราวสามารถเก็บกักกากอย่างน้อยได้ 5 ปี ภายในโรงพักกากจะต้องแบ่งส่วนต่างๆ เพื่อเก็บกากแต่ละประเภทแยกกัน พื้นจะต้องทำด้วยวัสดุป้องกันการซึมผ่านของน้ำหรือของเหลว โรงพักกากจะต้องมีประตูเลื่อน ปิด-เปิดได้ นอกจากนั้น ยังมีการกำหนดบรรจุพภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับกากแต่ละชนิด อาทิ น้ำมันหรือตัวทำละลายควรบรรจุในภาชนะ mild steel กากของแข็งที่เป็นสารอนินทรีย์และโลหะหนักควรบรรจุในภาชนะที่ทำด้วย mild steel หรือ plastic เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การนิคมอุตสาหกรรมมีนโยบายที่จะเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเก็บวบรวมกาก เพื่อส่งให้กับศูนย์บริการกำจัดกากของกรมโรงงานอุตสาหกรรมมาเป็นการรวบรวมกำจัด และบำบัดกาก อุตสาหกรรมอย่างครบวงจร

การจัดการของเสียอันตรายจากแหล่งชุมชน

ของเสียอันตายจากแหล่งชุมชนนั้นอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
1) ของเสียจากที่พักอาศัยและแหล่งพาณิชยกรรม และ
2) ของเสียจากโรงพยาบาล

สำหรับของเสียจากที่พักอาศัยและแหล่งพาณิชยกรรมนั้น ในประเทศไทยการวางแผนจัดการของเสียอันตรายที่เป็นรูปธรรมมีเพียงที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น ส่วนเทศบาลอื่นๆ ยังมิได้มีการจัดการ ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง คือ ยังมิได้มีมาตรการชัดเจนในการบังคับให้แยกทิ้งขยะอันตรายในชุมชน ทำให้ของเสียอันตรายเหล่านี้มีการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมอย่างมาก

ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2540-2544) แผนสาขาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ แผนงานที่ 4 แผนงานจัดการมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และของเสียอันตราย ได้กล่าวไว้ว่า ในกทม. มีขยะอันตราย เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ กระป๋องยาปราบศัตรูพืช สีเสปรย์ ยาเสื่อมคุณภาพ เกิดขึ้นประมาณ 22-23 ตัน ในปี พ.ศ. 2538 ดังในแผนงานที่ 4 นี้ ได้กำหนดวัตถุประสงค์ให้สามารถเก็บขนขยะและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และของเสียอันตรายจากชุมชนอย่างถูกสุขลักษณะ โดยมีเป้าหมายในการแยกขยะอันตรายจากชุมชนอย่างน้อยร้อยละ 20 ของปริมาณขยะอันตรายทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2544 โดยให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องปัญหา พิษภัย และผลกระทบจากขยะอันตรายจากชุมชนต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน เพื่อรณรงค์ให้มีการคัดแยกขยะอันตรายจากขยะมูลฝอยทั่วไป รวมทั้ง มีแนวทางและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับขยะอันตราย ได้แก่ ให้มีระบบการเก็บขนขยะอันตรายจากชุมชน เพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนของเสียอันตรายที่ปะปนมากับมูลฝอยทั่วไป สนับสุนให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในด้านการให้บริการเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อและขยะอันตราย เพิ่มศักภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เก็บขนขยะมูลฝอยติดเชื้อและขยะอัยตราย พร้อมทั้งมีการตรวจสุขภาพ การสนับสนุนค่าตอบแทน และสวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเสี่ยงต่อสุขภาพ

แนวทางการจัดการขยะอันตรายจากชุมชนในกทม.

1. รณรงค๋ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมมือกันในการคัดแยกขยะอันตราย จากชุมชนทั่วไปก่อนนำไปทิ้ง 
โดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ได้แก่ แผ่นพับ โปสเตอร์ สปอร์ตวิทยุ-โทรทัศน์ นิทรรศการ ป้ายประชาสัมพันธ์ และหนังสือเสริมสร้างความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม

2. ระบบการแยกทิ้งขยะอันตรายจากชุมชน
2.1 จัดหาถุงขยะรองรับขยะอันตรายให้ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายในเขตทดลอง 9 เขต  ได้แก่  คลองเตย สวนหลวง บางกะปิ บึงกุ่ม ห้วยขวาง ราชเทวี สาธร และธนบุรี   โดยใช้ถุง
รองรับมูลฝอยขนาดใหญ่ความจุไม่ต่ำกว่า 240 ลิตร และใช้รถเก็บขนจัดเก็บ 2 สัปดาห์/ครั้ง
2.2 จัดหาถังขยะรองรับขยะอันตรายขนาดความจุไม่น้อยกว่า 240 ลิตร สำหรับรองรับขยะอันตรายประเภทต่างๆ โดยตั้งวางไว้ตามจุดต่างๆ เช่น สถานีบริการน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า               สถานที่ราชการ และสำนักงานเขตทั่วกรุงเทพมหานคร โดยใช้รถเก็บขนขยะสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

3. การเก็บขนขยะอันตราย
ใช้รถเก็บขนขยะจากเขตทดลอง 9 เขตและจุดตั้งถังขยะรองรับขยะอันตรายทั่วกทม.

4. การเก็บรวบรวมและเก็บกักขยะอันตราย
ขยะที่เก็บขนได้จะถูกนำไปเก็บรวบรวมไว้ยังสถานีเก็บกักบริเวณโรงงานกำจัดขยะของกทม.   โดยต้องแยกบริเวณออกจากบริเวณเก็บกักขยะทั่วไป กทม.    ได้ขอความร่วมมือไปยังกรม
โรงงานอุตสาหกรรมเพื่อส่งผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท  GENCO  มาทำการตรวจสอบและดำเนินการกำจัดต่อไป    นอกจากนี้ กทม. ยังได้จัดทำโครงการเตรียมการจัดทำระบบการเก็บกัก
และบำบัดเบื้องต้นอีกด้วย

5. การกำจัดมูลขยะอันตราย
กทม. ได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2540 โดยกทม. จะรับผิดชอบในส่วนการเก็บขนและเก็บรวบรวมขยะอันตรายจากชุมชน แล้วส่งต่อให้       บริษัท GENCO เป็นผู้นำไปบำบัดและกำจัดต่อไป

ในส่วนของของเสียจากโรงพยาบาลซึ่งจัดว่าเป็นของเสียอันตรายนั้น แต่ละโรงพยาบาลก็จะต้องมีการบำบัด กำจัดน้ำเสียและขยะอย่างถูกต้อง การบำบัดน้ำเสียจากโรงพยาบาลจะทำโดยการย่อยสลายสารปนเปื้อนในน้ำด้วยกระบวนการทางชีวภาพ ต่อจากนั้น จะทำการฆ่าเชื้อโรคก่อนปล่อยน้ำทิ้งไป สำหรับขยะติดเชื้อที่เกิดขึ้นจะต้องทำการรวบรวมลงใน “ถุงแดง” ซึ่งเป็นพลาสติกสีแดงและมีตัวอักษรแสดงชัดเจนว่า เป็นขยะติดเชื้ออันตราย เมื่อรวบรวมได้แล้วจะทำการกำจัดขยะติดเชื้อ โดยการเผาด้วยเตาเผาชนิดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เตาเผาเหล่านี้จะมีแบบมาตรฐานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กองสุขาภิบาล กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หลังจากการเผาแล้วจะต้องนำเถ้าที่ได้ไปทำการฝังกลบอย่างถูกต้องต่อไป

ใส่ความเห็น »

การแยกขยะ 1

เมื่อเราใช้สอยสิ่งใดๆ จนไม่สามารถที่จะใช้ประโยชน์ได้อีกแล้ว เราก็จะทิ้งลงถัง และเรียกขานมันว่า “ขยะ”  แต่ในความเป็นจริงวัสดุต่างๆ ถ้าได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ก็ยังสร้างทั้งมูลค่าและคุณค่าได้อีกไม่น้อย ซึ่งเราอาจเรียกใหม่เป็น “ทรัพยากร”

ในปี 2551 ทั่วประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 15.03 ล้านตัน เฉลี่ยวันละ 41,064 ตัน (ไม่รวมขยะก่อนทิ้งลงถัง) สามารถแยกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
– ขยะอินทรีย์ เช่น เศษอาหารต่างๆ 46%
– ขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ 42%
– ขยะบางประเภทซึ่งย่อยสลายยากและมีแหล่งรับซื้อน้อย เช่น น้ำมันพืชใช้แล้ว เศษไม้ กล่องโฟม รองเท้าหนัง 9%
– ขยะอันตรายที่ต้องระมัดระวังในการจัดเก็บ เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ 3%

จากทั้งหมดที่เราเรียกว่าขยะข้างต้น มีเพียงประมาณ 10% ที่ควรนำไปเข้าเตาเผาขยะหรือฝังกลบ  แสดงว่าขยะที่เป็นขยะจริงๆ มีน้อยมาก ยังมีข้าวของที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (รียูส) ได้อีก และที่หมุนเวียนแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ได้ (รีไซเคิล) ก็มีไม่น้อยเลยทีเดียว

จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พบว่าศักยภาพของวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์จากมูลฝอยที่เก็บขนได้ทั่วประเทศมีประมาณร้อยละ 16.34 แต่มีเพียงร้อยละ 7 หรือประมาณ 2,360 ตันต่อวันเท่านั้นที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์จริง

อุปสรรคอย่างหนึ่งของการนำขยะจากแต่ละบ้านหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ก็คือในแต่ละวันเรายังทิ้งขยะแต่ละประเภทรวมกันในถังเดียว  ขยะที่ควรจะรีไซเคิลได้หลายชนิดจึงพลอยเปรอะเปื้อนไปด้วย ทำให้ขยะเหล่านั้นไม่สามารถนำมาแปรรูปและหมุนเวียนใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับขยะที่ถูกแยกไว้ตั้งแต่แรก

การแยกขยะจึงเป็นก้าวแรกของการลดปริมาณขยะและนำขยะไปใช้อย่างเต็มศักยภาพที่ทุกคนน่าจะช่วยทำได้
“มนุษย์” คือเทคโนโลยีคัดแยกที่ดีที่สุด 
“ไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถแยกขยะชนิดนั้นออกจากขยะชนิดนี้ได้ดีเท่าฝืมือของมนุษย์” ไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงเลย โดยเฉพาะเมื่อเราแยกขยะตั้งแต่ที่บ้าน  ด้วยเหตุที่บ้านเรือนเป็นต้นทางของขยะมากกว่าที่สาธารณะอย่างตลาดหรือริมถนนเป็นไหนๆ   แต่ทุกวันนี้บ้านเรือนส่วนใหญ่ส่งขยะให้กทม. หรือเทศบาลจัดการ โดยไม่คัดแยกชนิดออกจากกัน เศษอาหาร กระดาษหนังสือพิมพ์ ถุงพลาสติก หรือแม้แต่หลอดไฟ จึงรวมอยู่ในถังเดียวกัน  และที่สำคัญสารพิษจากขยะอันตรายที่ไม่ถูกแยกออกมาอย่างถูกต้อง อาจจะนำอันตรายมาสู่ทั้งคนในบ้านและพนักงานเก็บขยะด้วย

ขยะแต่ละชนิดมีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน  เพื่อให้การแยกขยะมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างแท้จริง ก่อนจะตัดสินใจทิ้งอะไร เรามาทำความรู้จักเคล็ดลับในการคัดแยกสักหน่อยดีกว่า

ขยะอินทรีย์
– อาหารที่กินเหลือ ถ้ายังไม่ค้างคืนจนบูด สามารถนำไปเลี้ยงสัตว์ได้  รวมกันหลายๆ วัน ก็ประหยัดไปไม่น้อย
– ไม่ควรฝังกลบเศษอาหาร เพราะการย่อยสลายในสภาพไร้ออกซิเจนจะทำให้เกิดก๊าซมีเทนตามมา  แทนที่จะฝังกลบหรือใส่ถุงก๊อบแก๊บผูกปากแน่นทิ้งไป เราสามารถนำมันมาเป็นส่วนผสมในปุ๋ยหมักได้
– เปลือกผลไม้รสหวานใช้ทำน้ำหมักชีวภาพไว้ดับกลิ่นในท่อน้ำ ห้องน้ำ และนำไปรดน้ำต้นไม้ได้

กระดาษ
– หลังจากใช้ประโยชน์จากกระดาษประเภทต่างๆ ได้ทุกซอกทุกมุมแล้ว ถ้าแยกประเภทกระดาษก่อนนำไปขาย จะทำให้ได้ราคามากกว่าขายเหมารวมเป็นกองเดียว ยกเว้นกระดาษทิชชูและกระดาษเคลือบพลาสติกที่ขายไม่ได้
– ควรเก็บกระดาษแยกไว้ในที่ซึ่งไม่ชื้นแฉะและสกปรก เพราะจะทำให้คุณภาพในการรีไซเคิลลดลง

พลาสติก
– ขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว ยังใช้ซ้ำได้อีก
– เมื่อแน่ใจว่าขวดพลาสติกใช้ซ้ำไม่ได้แล้ว ควรล้างให้สะอาดและบีบให้แบน เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการเก็บให้มากที่สุด
– ขวดพลาสติกมีหลายประเภท ราคารับซื้อแต่ละประเภทก็แตกต่างกันออกไป  ในประเทศไทย มักจะรับซื้อแบบเหมารวมทั้งหมดแล้วนำไปแยกเองทีหลัง

แก้ว
– แม้แก้วจะย่อยสลายไม่ได้ แต่มันสามารถรีไซเคิลได้ 100%
– ล้างขวดแก้วให้สะอาดเพื่อง่ายต่อการรีไซเคิล
– ขวดแก้วใช้แล้ว ถ้ายังอยู่ในสภาพใช้การได้ โรงงานผลิตเครื่องดื่มหรือสินค้านั้นๆ ยังรับกลับมาทำความสะอาด และใช้ซ้ำได้อีกถึงอย่างน้อย 30 ครั้ง  แต่ถ้าขวดแก้วเสียหายจนใช้ซ้ำไม่ได้อีก สามารถนำไปหลอมเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่ได้อีกนับครั้งไม่ถ้วนและให้คุณภาพไม่ต่างจากเดิม  ทั้งนี้การหลอมแก้วจากวัสดุรีไซเคิลยังใช้ความร้อนน้อยกว่าหลอมจากวัตถุดิบโดยตรงอีกด้วย

โลหะ
– โลหะมีหลายประเภท ซึ่งมีราคาแตกต่างกัน  ก่อนนำไปขายควรทำให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อง่ายต่อการจัดการ และถ้าแยกประเภทของโลหะจะทำให้ได้ราคาสูงกว่าเดิม
– เหล็กสามารถรีไซเคิลได้ 100% และยังคงคุณภาพเดิม เช่น กระป๋องเครื่องดื่มบางชนิด ผลิตภัณฑ์บรรจุอาหาร อาจหลอมรวมเพื่อนำไปผลิตเป็นวัสดุต่างๆ ได้อีกมากมาย เช่น คลิปหนีบกระดาษ กระป๋องใบใหม่ ชิ้นส่วนจักรยานและรถยนต์
– ห่วงเปิดกระป๋องน้ำอัดลมนำไปบริจาคเพื่อทำเป็นขาเทียมได้

ขยะอันตราย
– อย่านำขยะอันตรายไปปนรวมกับขยะประเภทอื่นอย่างเด็ดขาด เช่น หลอดไฟ แบตเตอรี่ กระป๋องสเปรย์ ขวดน้ำมันเครื่อง ขวดยาฆ่าแมลง ตลับหมึกพิมพ์
– แยกขยะอันตรายโดยเก็บใส่บรรจุภัณฑ์เดิมหรือห่อด้วยกระดาษก่อนทิ้ง

อื่นๆ
 – คอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดใช้รีไซเคิลได้ โดยส่วนประกอบภายใน เช่น พลาสติก เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง ฯลฯ สามารถนำมาแยกชิ้นส่วนเพื่อขายได้
– โทรศัพท์มือถือรีไซเคิลได้ถึง 80%  ง่ายที่สุดคือนำกลับไปคืนร้านที่ซื้อมาหรือหย่อนลงในกล่องที่รับบริจาคซากไปใช้ประโยชน์ เช่น ร้านขายมือถือ สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล

เมื่อ “ขยะ” ในชีวิตประจำวันของเราแฝงไว้ทั้งคุณค่าและมูลค่ามากมาย ศักยภาพที่เราสามารถจัดการได้ก็คือ ช่วยกันดึงศักยภาพที่ขยะมีออกมาใช้ให้เต็มที่

วิธีที่ทำได้ง่ายๆ วิธีหนึ่งก็คือการ “แยกขยะ” นั่นเอง

ใส่ความเห็น »

การเก็บเกี่ยว

 

การเก็บผลมะนาว ถ้าต้นเตี้ยหรือไม่สูงมากนัก ก็เก็บโดยใช้มือปลิด แต่ถ้าต้นสูง นิยมเก็บโดยใช้มีดหรือตะขอผูกติดกับด้ามไม้รวกยาว ๆ คล้อง และกระตุกผลมะนาวลงมา แต่ถ้าต้องการให้ได้ผลมะนาวที่มีคุญภาพ ไม่บอบช้ำ ก็ควรจะใช้ตะกร้อหวายในการเก็บเกี่ยว ควรเก็บในขณะที่ผลเริ่มแก่ โดยสังเกตจากด้านขั้วของผลเริ่มมีสีเหลืองเล็กน้อยผิวเปลือกจะเรียบบางใส มีสีเขียวอ่อนกว่าผลที่ยังไม่แก่ เมื่อบีบดูจะค่อนข้างนุ่มมือ ไม่ควรเก็บมะนาวที่แก่เกินไป เพราะเปลือกจะบางมาก ทำให้เกิดความเสียหายในการขนส่งได้ง่าย อีกทั้งเมื่อนำไปขายจะทำให้ขายได้ไม่นานผลเน่าเสียหายได้เร็ว

 

ใส่ความเห็น »

พันธุ์มะนาว

การปลูกมะนาวพันธุ์

พันธุ์มะนาวที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และปลูกกันในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่
1. มะนาวหนัง ผลอ่อนมีลักษณะกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีกลมมนบ้างเล็กน้อย ด้านหัวมีจุกเล็ก ๆ มีเปลือกค่อนข้างหนา จึงทำให้เก็บรักษาผลไว้ได้นาน
2. มะนาวไข่ มีขนาดและลักษณะคล้ายมะนาวหนังเกือบทุกอย่าง ผลอ่อนมีลักษณะกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมมนเป็นส่วนมาก เปลือกบาง ผลโตกว่ามะนาวหนัง
3. มะนาวแป้น เป็นมะนาวที่สามารถให้ดอกออกผลตลอดปี ผลมีขนาดกลาง ทรงผลแป้น เปลือกบาง มีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์แป้นรำไพ แป้นทราย เป็นต้น
ใส่ความเห็น »

แยกขยะครับ

ใส่ความเห็น »

การแยกขยะ

การแยกขยะ

ใส่ความเห็น »

การแยกขยะ

การทิ้งขยะให้ลงถังตามประเภท

        ถังขยะสีต่าง ๆ ใช้แยกประเภทขยะที่ทิ้งลงไป ถ้ามีใครมาถามผมว่า ถังขยะสีอะไรใช้ทิ้งขยะประเภทไหนบ้าง ผมคงตอบไม่ได้แน่ๆ ถ้าเป็นไปได้ก็ติดป้ายบอกให้ชัดเจนจะดีกว่า และที่สำคัญควรจะมีวางทั่วไป ปัจจุบันเป็นอะไรที่หายากมาก  เรามาดูกันว่าถังขยะสีต่าง ๆ มีไว้สำหรับขยะแบบไหนกันบ้างครับ

  • ถังขยะสีฟ้า รองรับขยะมูลฝอยทั่วไปที่ย่อยสลายไม่ได้ รีไซเคิลยาก แต่ไม่เป็นพิษ เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอยล์เปื้อนอาหาร
  • ถังขยะสีเขียว รองรับขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาทำปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้
  • ถังขยะสีเหลือง รองรับขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ
  • ถังขยะสีเทา – ส้ม รองรับขยะที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์

ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตราย

ใส่ความเห็น »

ต้นกาฬพฤกษ์   ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์

เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูงประมาณ 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำแตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อย 10–20 คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน หลังใบเป็นมัน ท้องใบมีขน ดอก เมื่อเริ่มบานจะมีสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและสีสันตามลำดับ ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก

 

ใส่ความเห็น »

HOT

ใส่ความเห็น »